top of page

ขั้นตอน การเปิดบ้านเรียนแสนสุขใจ  ของ ครอบครัวน้องเติ้ลตะวัน

สพป. เชิญประชุมหารือแผน

สพป. ส่งหนังสือ ให้เราไปประชุมพิจารณาแผนร่วมกับคณะกรรมการ ของหน่วยงานราชการ

สิ่งที่ต้องทราบก่อนไป

คือ คนที่เปิดบ้านเรียนทุกคนจะรู้คล้ายๆกัน คือ วันที่ไปประชุมแผนกับคณะกรรมการนั้น จนท. เค้าต้องการเสนอให้เราปรับเปลี่ยนแผน เป็นระดับชั้นละแผน คือเราต้องส่ง แผน ป.1 ป.2 ป.3 ….ป.6 แยกกัน แต่แผนของเราที่ทำมันรวม เป็นแผน ป.1-6 ในแผนเดียวเลย ซึ่งทำได้ กรรมการที่ประชุม จะบอกว่ามันทำให้ประเมินยากถ้าเป็นแผนรวม อยากให้เราทำเป็นแผนรายปี ซึ่งวันไปขณะประชุมเราก็ต้องศึกษาเรื่องแผนให้ดี 

วันประชุม เดินทางไป 2 คนกำลังดี ถ้ากรรมการเค้าอยากแนะนำ ให้เค้าแนะนำไปให้จบ แต่ละคน อย่าแย้งกันแบบคำต่อคำจะทำให้บรรยากาศการประชุม มันร้อนเกินไป พอทุกคนเสนอให้เราทำแผนเปลี่ยนรายปี หรืออื่นใด เราก็นำเสนอไปเลยว่า ทางเครือข่าวบ้านเรียน มีแบบประเมินตามสภาพจริง ซึ่งเรียกว่า แผนการประเมินผลรายปี SAR อ่านว่า ซาร์  เป็นคำย่อ Homeschooling Self-Assessment Report  โดยการประเมินในแบบที่เราใช้ ไม่ใช้แบบโรงเรียนในระบบ เพราะเราไม่ได้เรียนเป็นวิชาๆ แต่เน้นประเมินจากการเก็บหลักฐาน ใบงาน ภาพที่วาด กิจกรรมที่เข้าร่วม การบ้าน ที่ทำ ผลงานที่ประดิษฐ์ คือเน้นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่เหมือนโรงเรียนในระบบ ที่บางทีก็สอบเด็ก ทั้งๆที่ไม่ได้สอน แล้วเอาตัวเลขจาก จำนวนข้อสอบมาหาผลคะแนนซึ่งเราไม่ได้ใช้วิธีแบบนั้นในการวัดผลประเมินผล บ้านเรียนเน้นการปฏิบัติจริง เช่นการอ่าน ก็ต้องมาอ่อนให้เราฟัง การทำแผนรายปี เพียงสร้างขั้นตอนเพิ่ม เราควรเน้นกิจกรรมกับเด็กไม่ใช่เน้นทำข้อสอบ หรือไปเน้นการสร้างเอกสารปลอม แบบที่โรงเรียนในระบบทำกัน คือเอาเวลาทั้งหมด มาเฟคเอกสารปลอมเป็นการสร้างผลงานหรือวัดผลสัมฤทธิ์เด็ก แผนที่เราใช้คือใช้ได้จริง ไม่ใช่แค่เราคนเดียวบ้านเรียนที่อื่นก็ใช้แผนแบบนี้ได้ กฎหมาย การศึกษาเปิดกว้างในการจัดการศึกษาและการประเมินผลที่เหมาะสมกับ รูปแบบการศึกษาที่เราทำ เราก็ต้องนำเสนอมุมของบ้านเรียน เพราะส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะไม่ค่อยเข้าใจระบบบ้านเรียนเท่ากับ พี่ๆในกลุ่มเครื่อข่ายบ้านเรียน หากเราไม่เข้าใจอะไรก็ให้ขอคำปรึกษา กลุ่มบ้านเรียนได้โฟสต์ถามได้ทุกอย่างเดี๋ยวจะมีคนมาตอบมาอธิบายทุกข้อสงสัยของเรา

bottom of page